ดราม่าอีกรอบ กศน.แจง พิมรี่พาย ทำคนเข้าใจผิดประเด็นเด็กบนดอยแม่เกิบ

กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างต่อเนื่อง หลังจากเมื่อวันเด็กแห่งชาติที่ผ่านมา ยูทูปเปอร์สาวชื่อดังอย่าง พิมรี่พาย ได้ออกไปสร้างความสุขให้สังคม โดยควักเงินมูลค่ากว่า 500,000 บาท เพื่อนำไปติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ซื้อทีวี ให้เด็กบนดอยแม่เกิบ จ.เชียงใหม่ จนได้รับกระแสชื่นชมจากสังคมเป็นอย่างมาก

แต่นอกจากกระแสชื่นชมที่ได้รับแล้ว อีกด้านกลับมีกระแสดราม่าที่ถาโถมใส่สาวพิมรี่พายขึ้นมามากมาย อย่างล่าสุด เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ของนักวิชาการท่านหนึ่ง นั่นก็คือ นางอรอานันท์ แสงมณี นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กระทรวงศึกษาธิการ  ก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อคลิปของสาวพิมรี่พาย โดยเฉพาะประเด็นที่เด็ก ๆ ไม่รู้จักไข่เจียว การที่เด็กไม่รู้จักวิธีการปลูกผัก และเรื่องกระแสไฟฟ้าในหมู่บ้าน

โดยทาง นางอรอานันท์ แสงมณี ก็ได้อธิบายถึงการทำงานของ “ศศช” หรือ ศูนย์การเรียนชุมชนไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง ถึงการการทำงานดังนี้

มีกลุ่มเป้าหมาย​ 4 กลุ่ม​ ดังนี้
1.เด็กก่อนวัยเรียน​ อายุ​ 3-6 ปี
จัดกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก​ โภชนาการ
และดูพัฒนาการเด็กจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง​
2.เด็กวัยเรียนที่ไม่ได้รับการศึกษา
ในระบบโรงเรียน​ อายุ​ 7-14​ ปี
กลุ่มนี้​ ศศช.​บางแห่งเป็นสถานศึกษา​พื้นที่เป้าหมาย
การพัฒนา​เด็ก​และ​เยาวชน​ใน​ถิ่น​ทุรกันดาร
ตามพระราชดำริ​สมเด็จพระ​กนิษฐา​ธิราช​เจ้า​
กรม​สมเด็จพระ​เทพ​รัตน​ราชสุดา​ ฯ​ สยาม​บรม​ราช​กุมารี​ ที่ดูแลทั่งด้านโภชนาการ​ สุขอนามัย​ วิชาการ​จริยธรรม​ ฯลฯ​ ให้มีคุณภาพชีวิต​ที่ดี
3.กลุ่มเป้าหมายผู้ใหญ่​ อายุ​ 15​ -​59 ปี
กลุ่มนี้จัดการศึกษา​พัฒนาอาชีพและทักษชีวิต
การศึกษา​ขั้นพื้นฐาน​ รวมถึงทักษะ​ฟังพูดอ่านเขียน
ภาษาไทยเพื่อสื่อสารและรับบริการ​เช่นสถานพยาบาลเวลาเจ็บป่วยจะได้แจ้งอาการถูก เป็นต้น
4.ผู้สูงอายุ​ อายุ​ 60​ ปีขึ้นไป
จัดกิจกรรม​ตามความสนใจของผู้เรียน
..
ปกติครูทำหน้าที่สอนเด็กและประชาชนในชุมชน เป็นการจัดการศึกษาตามบริบทชุมชนและโครงการอื่นๆในพื้นที่จากหลายหน่วยงานโดยให้​ ครู​ศศช.เป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการ​ (บาง​ ศศช.เป็น​ 10 โครงการก็มี)​
และมักมีเครือข่ายมาให้การสนับสนุนอยู่บ่อยๆ
ทั้งเรื่องของ​ อาคารเรียน​ ศศช.​ ที่จะถูกสร้างการสนับสนุนจากผู้ที่สนใจ​ (แต่เดิมชาวบ้านในชุมชนเป็นคนสร้างอาคาร​ ศศช.)​ข้าวของเครื่องใช้​ อาหารและยารักษาโรค​ต่างๆ​ ก็ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐตามพื้นฐาน​หรือจากผู้ให้การสนับสนุน
ด้วยพื้นที่ห่างไกล​ ระบบการใช้พลังงานไฟฟ้าไปไม่ถึงในบางพื้นที่ใช้พลังงานทดแทน​ พลังงานแสงอาทิตย์​ หรือน้ำ​ แต่อาจจะไม่ได้มีทั้งชุมชน
ภายใน​ ศศช.​ จะมีพลังงานทดแทนเหล่านี้สำหรับกิจกรรมการเรียนการสอนภายใน​ ศศช.
ทั้งนี้ ยังได้พูดถึงประเด็นที่สาวพิมรี่พายพูดถึงเรื่องที่เด็ก ๆ ไม่รู้จักไข่เจียว แท้จริงแล้ว คนในพื้นที่นั้นเรียกไข่เจียวว่า “ทอดไข่”  ส่วนเรื่องการปลูกผัก นางอรอานันท์ยังได้ตอบกลับอีกว่า “ถ้าเด็กๆไม่รู้จักวิธีปลูกผัก เขาจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร ถ้าไม่มีผักรับประทานรวมถึงเรื่องของไฟฟ้าในหมู่บ้าน เธอยังบอกอีกว่า ยังมีจานดาวเทียมตั้งตระง่านอยู่ในหมู่บ้านเลย นอกจากนี้ นางอรอานันท์ ยังได้โพสต์ภาพอาหารที่เด็กรับประทานว่ามีไข่เจียวอยู่จริง และในหมู่บ้านก็มีจานดาวเทียมอยู่
หลังจากที่โพสต์นี้ออกไป ชาวเน็ตต่างก็เข้ามาแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก บางส่วนก็เห็นด้วยกับเจ้าหน้าที่ แต่ส่วนใหญ่เลือกที่จะเห็นด้วยกับสาวพิมรี่พาย
เรียบเรียงโดยทีมงาน kaazip.com